คุณกำลังมองหาอะไร?

ข่า

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย เด็กไทยอ้วน ผอม เตี้ย ผนึกกำลัง 7 องค์กร พัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ"

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.01.2557
0
0
แชร์
06
มกราคม
2557

ข่าวแจก "กรมอนามัย เผย เด็กไทยอ้วน ผอม เตี้ย ผนึกกำลัง 7 องค์กร พัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ"

        กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อนักเรียนไทยมีโภชนาการสมวัย ลดปัญหาเด็กไทยอ้วน ผอม และ เตี้ย
        วันนี้ (6 มกราคม 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนักเรียนไทยมีโภชนาการสมวัย? ณ ห้องคัทรียา ชั้น 5 โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียนอายุ 6 ? 12 ปี จำนวน 1,492,089 คน จาก 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน จำนวน 187,000 คน เตี้ย จำนวน 254,620 คน และผอม จำนวน 99,112 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เด็กนักเรียนที่เตี้ยและผอม จะมีสติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย เด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยพบว่าเด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ควรกิน ไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ กินขนมกรุบกรอบและดื่มเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยคาดว่าในปี 2558 เด็กปฐมวัย 1 คน ใน 5 คน และเด็กนักเรียน 1 คน ใน 10 คน จะมีภาวะอ้วน
        นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาสื่อนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของนักเรียน ถือเป็นสิ่งสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ด้านการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการและสุขภาพให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยเน้นการนำสื่อนวัตกรรม ฉบับทดลองใช้ที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการนักเรียนในโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มาพัฒนาต่อยอดให้มีเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวม และง่ายต่อการนำไปใช้ขยายผลในระดับประเทศ ซึ่งแนวทางการพัฒนาจะเน้นการบูรณาการชุดความรู้ 5 เรื่องที่ยังเป็นปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ได้แก่
1) ธงโภชนาการ
2) ผัก ผลไม้
3) ลดหวาน มัน เค็ม
4) โรคอ้วนและการออกกำลังกาย และ
5) สุขอนามัยส่วนบุคคล (สุขภาพช่องปากและสุขภาพทั่วไปของนักเรียน) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2551 และสามารถประยุกต์ใช้กับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้ทั้ง 4 สังกัด คือ สพฐ. กทม. เอกชน และเทศบาล
        ทั้งนี้ สำหรับการพัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพนั้น สามารถใช้เป็นคู่มือ/แนวทางสำหรับครูใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงบูรณาการด้านพฤติกรรมสุขภาพทั้งในและนอกห้องเรียนครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะชีวิตด้านอาหาร โภชนาการ การออกกำลังกาย ทันตสุขภาพ และการดูแลสุขภาพทั่วไปที่เหมาะสมตามวัย และยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในการเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของนักเรียน และครอบครัว? รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
 
***
                                                                                                   สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 6 มกราคม 2557
 
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อนักเรียนไทยมีโภชนาการสมวัย ลดปัญหาเด็กไทยอ้วน ผอม และ เตี้ย วันนี้ (6 มกราคม 2557) นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ \\การพัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนักเรียนไทยมีโภชนาการสมวัย ณ ห้องคัทรียา ชั้น 5 โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี ว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตในเด็กนักเรียนอายุ 6 12 ปี จำนวน 1,492,089 คน จาก 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่า นักเรียนมีภาวะอ้วน จำนวน 187,000 คน เตี้ย จำนวน 254,620 คน และผอม จำนวน 99,112 คน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เด็กนักเรียนที่เตี้ยและผอม จะมีสติปัญญาด้อย เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย เด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทยพบว่าเด็กกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ควรกิน ไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ กินขนมกรุบกรอบและดื่มเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยคาดว่าในปี 2558 เด็กปฐมวัย 1 คน ใน 5 คน และเด็กนักเรียน 1 คน ใน 10 คน จะมีภาวะอ้วน นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาสื่อนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของนักเรียน ถือเป็นสิ่งสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ด้านการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการและสุขภาพให้บรรลุผลตามเป้าหมาย โดยเน้นการนำสื่อนวัตกรรม ฉบับทดลองใช้ที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการนักเรียนในโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มาพัฒนาต่อยอดให้มีเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนาสุขภาพนักเรียนแบบองค์รวม และง่ายต่อการนำไปใช้ขยายผลในระดับประเทศ ซึ่งแนวทางการพัฒนาจะเน้นการบูรณาการชุดความรู้ 5 เรื่องที่ยังเป็นปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ได้แก่1) ธงโภชนาการ2) ผัก ผลไม้3) ลดหวาน มัน เค็ม4) โรคอ้วนและการออกกำลังกาย และ5) สุขอนามัยส่วนบุคคล (สุขภาพช่องปากและสุขภาพทั่วไปของนักเรียน) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2551 และสามารถประยุกต์ใช้กับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้ทั้ง 4 สังกัด คือ สพฐ. กทม. เอกชน และเทศบาล \\ทั้งนี้ สำหรับการพัฒนาชุดเรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพนั้น สามารถใช้เป็นคู่มือ/แนวทางสำหรับครูใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงบูรณาการด้านพฤติกรรมสุขภาพทั้งในและนอกห้องเรียนครอบคลุม 8 กลุ่มสาระ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะชีวิตด้านอาหาร โภชนาการ การออกกำลังกาย ทันตสุขภาพ และการดูแลสุขภาพทั่วไปที่เหมาะสมตามวัย และยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในการเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของนักเรียน และครอบครัว รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด *** สำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง / 6 มกราคม 2557

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน