คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา เข้าร่วมโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อถวายพ่อหลวง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.12.2552
11
0
แชร์
02
ธันวาคม
2552

ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา เข้าร่วมโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อถวายพ่อหลวง

ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา เข้าร่วมโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อถวายพ่อหลวง
 
   

              

               วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๓๐ น. ณ ลานนวมินทร์  สวนน้ำบุ่งตาหลั่วเฉลิมพระเกีรยติ รัชกาลที่ 9  จังหวัดนครราชสีมา  นายแพทย์ชูวิทย์  ลิขิตยิ่งวรา  หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๔  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนจังหวัดนครราชสีมา จำนวนกว่า  ๒,๐๐๐  คน  ร่วมลงนามถวายพระพร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในมหามงคลเฉลิม         พระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา โดยมีกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประเมินภาวะโภชนาการ  ในประชาชนกลุ่มอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยได้รับงบประมาณสนันสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 9 นครราชสีมา นอกจากนั้นยังมี นิทรรศการให้ความรู้โรคไม่ติดต่อ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  เมนูชูสุภาพ  สาธิตออกกำลังกายยางยืดชีวิตพิชิตโรคและโยคะช่วยชีวิต

                นายแพทย์ชูวิทย์  ลิขิตยิ่งวรา  หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า  โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคที่ไม่ติดต่อถวายพ่อหลวงเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมายุ  ๘๔ พรรษา    ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๔  เพื่อเฉลิมพระเกียรติน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชสักการะและร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  ของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด

นางพัชรี  หลาวทอง  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา หัวหน้ากลุ่มงานพฤติกรรมสุขภาพ  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  จากการตรวจคัดกรองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป  จำนวนกว่า ๑.๒ล้านคน ซึ่งในปี ๒๕๕๑ มีผลการดำเนินการตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้ ร้อยละ ๘๖ พบผู้ที่เสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานกว่า ๔.๕ หมื่นคน และผู้เสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวนกว่า ๖       หมื่นคน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุดคือการยึดหลัก    ๓ อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ โดยให้ปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้เหมาะกับความต้องการใช้พลังงาน ลดหวาน มัน เค็ม แป้ง น้ำตาล เพิ่มผักและผลไม้ ที่มีรสไม่หวานให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ ๔๕ นาที และไม่น้อยกว่า ๕ วันต่อสัปดาห์ และทำอารมณ์ให้แจ่มใส ข่มใจไม่ให้กินมากเกินความจำเป็นของร่างกาย  ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อ ๕ โรคร้ายได้
 
    

นายจิณณะ   เดชสูงเนิน   ข่าว

นางสินีนาฎ  สิงหวิบูลย์  บรรณาธิการข่าว

๓๐ พฤศจิกายน  ๒๕๕๒         

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน