กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระมัดระวัง เลือกอาหารบริโภคหลังตรวจพบเชื้อ เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำในพื้นที่น้ำท่วม
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระมัดระวัง เลือกอาหารบริโภคหลังตรวจพบเชื้อ
เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำในพื้นที่น้ำท่วม
นายแพทย์บุญยง รุจิราวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ได้ดำเนินงานฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม โดยเน้นการดูแล 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและน้ำ 2.การจัดการขยะ 3.การปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม - น้ำใช้ และ 4.การจัดการน้ำเสียจากน้ำท่วมขัง จากการเฝ้าระวังคุณภาพของอาหารและน้ำ โดยสุ่มตรวจอาหารในเขตชุมชน ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ ตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน จำนวน 75 ตัวอย่าง พบว่า มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 22 ตัวอย่าง ในเบื้องต้นได้ให้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ปรุงประกอบอาหาร ให้เน้นถึงความสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และประสานพื้นที่ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
สำหรับประชาชนผู้บริโภค ที่ต้องเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จนอกบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ อาทิเช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อดังนี้ เลือกซื้อจากร้านอาหารที่มีสภาพสะอาด สังเกตสภาพทั่วไป ของอาหาร เช่น สีสัน กลิ่น รส ให้เป็นปกติ ไม่มีสีดำคล้ำ หรือ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือ มีสีสันที่เข้มจนผิดปกติ ลักษณะการเก็บอาหารปรุงสำเร็จ ระหว่าง รอการจำหน่าย จะต้องเก็บในตู้ หรือภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดป้องกัน แมลงวัน สูงจาก พื้นอย่างน้อย 60 เซนติเ.มตร และต้องอยู่ห่างจากที่ล้างมือ / ล้างจาน ชาม อย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการกระเซ็นของน้ำสกปรกมาปนเปื้อน กรณีอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายตามแผงลอย ควรบรรจุในถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารร้อน หรือบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และสังเกตว่ามีการนำอาหารปรุงสำเร็จมาอุ่นให้ร้อนเป็นระยะทุก 2 ชั่วโมง สังเกตลักษณะการเตรียม อาหารปรุงสำเร็จเพื่อจำหน่าย จะต้องเสิร์ฟอย่างถูกสุขลักษณะ มีทัพพี / ที่หยิบจับอาหารแยกเฉพาะ ในแต่ละประเภทอาหาร ข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ก่อนบริโภคควรนำมาอุ่นให้ร้อนก่อน และในกรณีที่จะเก็บไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค และป้องกันการเน่าเสีย ของอาหาร ส่วนกรณีผู้ปรุงอาหาร การเลือกวัสดุในการปรุงประกอบอาหาร หากเป็นอาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อรา ควร ล้างให้สะอาดก่อนปรุง ล้างมือก่อนสัมผัสอาหาร หากมีแผลควรปิดพลาสเตอร์ หลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้น ต้องทำความสะอาดบริเวณที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การกำจัดขยะ ในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊ป ควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่งถังขยะต้องมีฝาปิด และมีการแยกขยะเป็นสองถัง คือ ถังขยะเปียกและถังขยะแห้ง เพื่อง่ายต่อการกำจัด
แม้ว่า โอกาสเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ จะเกิดได้ง่าย แต่หากประชาชน ใส่ใจกับการเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามที่ได้กล่าวไป ก็จะปลอดภัยจากโรคนี้ นายแพทย์บุญยง กล่าวในที่สุด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระมัดระวัง เลือกอาหารบริโภคหลังตรวจพบเชื้อ เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำในพื้นที่น้ำท่วม นายแพทย์บุญยง รุจิราวรรณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ได้ดำเนินงานฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม โดยเน้นการดูแล 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและน้ำ 2.การจัดการขยะ 3.การปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม - น้ำใช้ และ 4.การจัดการน้ำเสียจากน้ำท่วมขัง จากการเฝ้าระวังคุณภาพของอาหารและน้ำ โดยสุ่มตรวจอาหารในเขตชุมชน ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ ตั้งแต่วันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน จำนวน 75 ตัวอย่าง พบว่า มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 22 ตัวอย่าง ในเบื้องต้นได้ให้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ปรุงประกอบอาหาร ให้เน้นถึงความสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และประสานพื้นที่ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง สำหรับประชาชนผู้บริโภค ที่ต้องเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จนอกบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ อาทิเช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อดังนี้ เลือกซื้อจากร้านอาหารที่มีสภาพสะอาด สังเกตสภาพทั่วไป ของอาหาร เช่น สีสัน กลิ่น รส ให้เป็นปกติ ไม่มีสีดำคล้ำ หรือ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว หรือ มีสีสันที่เข้มจนผิดปกติ ลักษณะการเก็บอาหารปรุงสำเร็จ ระหว่าง รอการจำหน่าย จะต้องเก็บในตู้ หรือภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดป้องกัน แมลงวัน สูงจาก พื้นอย่างน้อย 60 เซนติเ.มตร และต้องอยู่ห่างจากที่ล้างมือ / ล้างจาน ชาม อย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการกระเซ็นของน้ำสกปรกมาปนเปื้อน กรณีอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายตามแผงลอย ควรบรรจุในถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารร้อน หรือบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และสังเกตว่ามีการนำอาหารปรุงสำเร็จมาอุ่นให้ร้อนเป็นระยะทุก 2 ชั่วโมง สังเกตลักษณะการเตรียม อาหารปรุงสำเร็จเพื่อจำหน่าย จะต้องเสิร์ฟอย่างถูกสุขลักษณะ มีทัพพี / ที่หยิบจับอาหารแยกเฉพาะ ในแต่ละประเภทอาหาร ข้อสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ก่อนบริโภคควรนำมาอุ่นให้ร้อนก่อน และในกรณีที่จะเก็บไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค และป้องกันการเน่าเสีย ของอาหาร ส่วนกรณีผู้ปรุงอาหาร การเลือกวัสดุในการปรุงประกอบอาหาร หากเป็นอาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อรา ควร ล้างให้สะอาดก่อนปรุง ล้างมือก่อนสัมผัสอาหาร หากมีแผลควรปิดพลาสเตอร์ หลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้น ต้องทำความสะอาดบริเวณที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การกำจัดขยะ ในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊ป ควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่งถังขยะต้องมีฝาปิด และมีการแยกขยะเป็นสองถัง คือ ถังขยะเปียกและถังขยะแห้ง เพื่อง่ายต่อการกำจัด แม้ว่า โอกาสเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ จะเกิดได้ง่าย แต่หากประชาชน ใส่ใจกับการเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามที่ได้กล่าวไป ก็จะปลอดภัยจากโรคนี้ นายแพทย์บุญยง กล่าวในที่สุด