ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาประชุมเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาประชุมเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย
วันที่ 6 พ.ย. 53 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา นำโดยนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดประชุมปรึกษาหารือเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นทีประสบอุทกภัยในพื้นที่นครชัยบุรินทร์
วันที่ 6 พ.ย. 53 นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดประชุมปรึกษาหารือเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นทีประสบอุทกภัยในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพื่อให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและน้ำเสียที่เกิดจากการท่วมขังให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเพื่อให้ครัวเรือนชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ทั้งนี้ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาได้จัดทีมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 4 ทีมเพื่อลงพื้นที่ออกสำรวจสุขาภิบาล ให้ความช่วยเหลือเชิงวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม อาทิ สาธิตการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสีย ทำความสะอาดเมือง ใส่โถส้วม ล้างห้องน้ำอ่างล้างมือ ท่อระบายน้ำ สาธิตการใช้ผงปูนคลอรีน สาธิตการล้างตลาด การสุ่มตรวจอาหารและน้ำ สาธิตการใช้หยดทิพย์ (คลอรีนน้ำ) ในครัวเรือน สาธิตการใช้ปูนขาวในการขับถ่าย และสาธิตการล้างตลาด เป็นต้น
ทั้งนี้หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา หมายเลขโทรศัพท์ 044-305131, 305134 ต่อ 102
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาประชุมเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัย วันที่ 6 พ.ย. 53 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา นำโดยนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดประชุมปรึกษาหารือเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นทีประสบอุทกภัยในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ วันที่ 6 พ.ย. 53 นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดประชุมปรึกษาหารือเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นทีประสบอุทกภัยในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัดได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพื่อให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและน้ำเสียที่เกิดจากการท่วมขังให้ถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเพื่อให้ครัวเรือนชุมชนปลอดภัยจากโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ทั้งนี้ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาได้จัดทีมเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 4 ทีมเพื่อลงพื้นที่ออกสำรวจสุขาภิบาล ให้ความช่วยเหลือเชิงวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม อาทิ สาธิตการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสีย ทำความสะอาดเมือง ใส่โถส้วม ล้างห้องน้ำอ่างล้างมือ ท่อระบายน้ำ สาธิตการใช้ผงปูนคลอรีน สาธิตการล้างตลาด การสุ่มตรวจอาหารและน้ำ สาธิตการใช้หยดทิพย์ (คลอรีนน้ำ) ในครัวเรือน สาธิตการใช้ปูนขาวในการขับถ่าย และสาธิตการล้างตลาด เป็นต้น ทั้งนี้หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการความช่วยเหลือหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมด้านการจัดการสุขาภิบาลอาหารและอนามัยสิ่งแวดล้อม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา หมายเลขโทรศัพท์ 044-305131, 305134 ต่อ 102 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์