คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลในบ้าน ป้องกันโรคท้องร่วง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

04.11.2553
4
0
แชร์
04
พฤศจิกายน
2553

ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลในบ้าน ป้องกันโรคท้องร่วง

ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลในบ้าน ป้องกันโรคท้องร่วง
 
          ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดการสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีง่าย ๆ ลดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ
          นายแพทย์บุญยง รุจิราวรรณ รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา เปิดเผยถึง การจัดการสิ่งปฏิกูล เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอุจจาระและขยะ ในช่วงน้ำท่วม ขณะนี้หลาย ๆ พื้นที่ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่ายอุจจาระและการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลเหล่านี้มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ถ้าทิ้งมากับน้ำจะทำให้เกิดโรคติดต่อ หากประชาชนนำน้ำที่ท่วมขังมาล้างอาหาร จานชามหรืออุปกรณ์ ประกอบอาหาร เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร อาทิ โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และบุคคลข้างเคียงจากโรคติดต่อในช่วงภาวะน้ำท่วมขัง ประชาชนที่ประสบภัยสามารถร่วมมือกันลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลและขยะด้วยการขับถ่ายสิ่งปฏิกูลในห้องสุขาที่ยังสามารถใช้การได้ ส่วนกรณีน้ำท่วมขังอย่างหนักจนขาดแคลนห้องสุขา ขอให้ประชาชนขับถ่ายสิ่งปฏิกูลลงในถุง และปิดปากถุงให้สนิท หรืออาจใช้ถ่าน ปูนขาว หรือน้ำยาดับกลิ่น เท่าที่สามารถหาได้ในพื้นที่ โรยป้องกันกลิ่นรบกวน ส่วนขยะภายในบ้านควรรวบรวมใส่ถุงพลาสติกหรือถุงดำ และผูกปากถุงทุกครั้งที่ทิ้งขยะเสร็จ เพื่อป้องกันปัญหากลิ่นและการหกกระจายของขยะ เมื่อน้ำลดจึงให้ท้องถิ่นนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
          นายแพทย์บุญยง กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องนำน้ำที่ท่วมขังมาอุปโภคบริโภคนั้น ก่อนนำน้ำมาใช้ควรตักใส่ภาชนะ ถ้าน้ำขุ่นให้ใช้สารส้มชนิดก้อน กวนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำเริ่มจับตัวนำสารส้มออก ใช้มือกวนน้ำต่อ1-2นาทีทิ้งไว้จนตกตะกอนที่ได้มาใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ใส่คลอรีนชนิดผง ½ ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันรินเฉพาะส่วนที่ใสผสมในอัตราส่วน ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำและส่วนที่หลงเหลืออยู่สลายตัวไป ในกรณีที่จะนำน้ำมาดื่มต้องต้มให้เดือดก่อน หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะอุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม หม้อ กระทะให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนชา (ผสมกับน้ำ 1 แก้ว รินเฉพาะส่วนที่ใส)ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 2 นาที ก่อนที่จะนำภาชนะเหล่านั้นมาใช้อย่างปลอดภัยเพื่อความสะดวกกรมอนามัยได้ผลิตคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)ใช้หยดลงในน้ำ สำหรับดื่ม 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที
           ทั้งนี้ สิ่งของบริจาคที่มีผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ก่อนจะบริโภคควรสังเกตวันหมดอายุ หรือดูวันหมดอายุหรือดูสภาพ สี กลิ่น และภาชนะบรรจุของ น้ำดื่มและอาหารนั้น ๆ ก่อนบริโภค โดยในพื้นที่ที่สามารถปรุงประกอบอาหารได้ ก็ควรนำมาอุ่นให้ร้อนหรือผ่านการปรุงสุกเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือเกิดโรคที่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ที่สำคัญควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม? ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวในที่สุด
 
 
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะวิธีกำจัดสิ่งปฏิกูลในบ้าน ป้องกันโรคท้องร่วง ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดการสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีง่าย ๆ ลดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารและโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ นายแพทย์บุญยง รุจิราวรรณ รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา เปิดเผยถึง การจัดการสิ่งปฏิกูล เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอุจจาระและขยะ ในช่วงน้ำท่วม ขณะนี้หลาย ๆ พื้นที่ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กำลังประสบปัญหาน้ำท่วม ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่ายอุจจาระและการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลเหล่านี้มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ถ้าทิ้งมากับน้ำจะทำให้เกิดโรคติดต่อ หากประชาชนนำน้ำที่ท่วมขังมาล้างอาหาร จานชามหรืออุปกรณ์ ประกอบอาหาร เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร อาทิ โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเอง และบุคคลข้างเคียงจากโรคติดต่อในช่วงภาวะน้ำท่วมขัง ประชาชนที่ประสบภัยสามารถร่วมมือกันลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสิ่งปฏิกูลและขยะด้วยการขับถ่ายสิ่งปฏิกูลในห้องสุขาที่ยังสามารถใช้การได้ ส่วนกรณีน้ำท่วมขังอย่างหนักจนขาดแคลนห้องสุขา ขอให้ประชาชนขับถ่ายสิ่งปฏิกูลลงในถุง และปิดปากถุงให้สนิท หรืออาจใช้ถ่าน ปูนขาว หรือน้ำยาดับกลิ่น เท่าที่สามารถหาได้ในพื้นที่ โรยป้องกันกลิ่นรบกวน ส่วนขยะภายในบ้านควรรวบรวมใส่ถุงพลาสติกหรือถุงดำ และผูกปากถุงทุกครั้งที่ทิ้งขยะเสร็จ เพื่อป้องกันปัญหากลิ่นและการหกกระจายของขยะ เมื่อน้ำลดจึงให้ท้องถิ่นนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป นายแพทย์บุญยง กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องนำน้ำที่ท่วมขังมาอุปโภคบริโภคนั้น ก่อนนำน้ำมาใช้ควรตักใส่ภาชนะ ถ้าน้ำขุ่นให้ใช้สารส้มชนิดก้อน กวนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำเริ่มจับตัวนำสารส้มออก ใช้มือกวนน้ำต่อ1-2นาทีทิ้งไว้จนตกตะกอนที่ได้มาใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ใส่คลอรีนชนิดผง ½ ช้อนชาในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันรินเฉพาะส่วนที่ใสผสมในอัตราส่วน ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำและส่วนที่หลงเหลืออยู่สลายตัวไป ในกรณีที่จะนำน้ำมาดื่มต้องต้มให้เดือดก่อน หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะอุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม หม้อ กระทะให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนชา (ผสมกับน้ำ 1 แก้ว รินเฉพาะส่วนที่ใส)ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 2 นาที ก่อนที่จะนำภาชนะเหล่านั้นมาใช้อย่างปลอดภัยเพื่อความสะดวกกรมอนามัยได้ผลิตคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์)ใช้หยดลงในน้ำ สำหรับดื่ม 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที \\ทั้งนี้ สิ่งของบริจาคที่มีผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง ก่อนจะบริโภคควรสังเกตวันหมดอายุ หรือดูวันหมดอายุหรือดูสภาพ สี กลิ่น และภาชนะบรรจุของ น้ำดื่มและอาหารนั้น ๆ ก่อนบริโภค โดยในพื้นที่ที่สามารถปรุงประกอบอาหารได้ ก็ควรนำมาอุ่นให้ร้อนหรือผ่านการปรุงสุกเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือเกิดโรคที่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร ที่สำคัญควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวในที่สุด

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด