ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ออกสำรวจสถานการณ์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่โรงพยาบาลพิมาย และโรงพยาบาลเซ็นต์แมรี่
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ออกสำรวจสถานการณ์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
พื้นที่โรงพยาบาลพิมาย และโรงพยาบาลเซ็นต์แมรี่
ในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้เข้าสำรวจสถานการณ์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่โรงพยาบาลพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย และบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลพิมายยังมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50-70 ซม. สามารถเปิดให้บริการได้แล้ว แต่ปัญหาคือสุขาไม่สามารถใช้การได้ต้องใช้บริการสุขาเคลื่อนที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากกทม.และบ่อบำบัดน้ำเสียได้รับความเสียหาย ในขณะที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ระดับน้ำประมาณยังท่วมสูงมากกว่า 1 เมตร ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังได้ออกสำรวจที่จุดบริการรถเคลื่อนที่ปรุงอาหารของกองทัพไทยที่ออกให้บริการแก่ประชาชนที่อำเภอพิมายด้วย
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้ออกสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารที่จุดต่างๆ ทั้ง 3 จุดบริการโดยได้เก็บตัวอย่างอาหาร 10 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำจำนวน 4 ตัวอย่างเพื่อนำมาตรวจหาการปนเปื้อน ซึ่งการรายงานผลจะสามารถทำได้ในวันถัดไป ทั้งนี้จากการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 19-22 ตุลาคม 2553 พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 14 ตัวอย่างจากทั้งหมด 44 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 31.8 ส่วนมากเป็นอาหารกล่องโฟมบริจาค โดยพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ส่วนที่จังหวัดชัยภูมิไม่พบการปนเปื้อน น้ำดื่มบรรจุขวดทั้งประเภทขวดใสและขวดขุ่นทั้งหมด 41 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 12 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 29.26 ตัวอย่างน้ำใช้น้ำประปา 6 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 66.7 และจากการตรวจเชื้อ (swab) จากมือผู้ประกอบอาหารจำนวน 13 รายพบการปนเปื้อน 7 รายคิดเป็นร้อยละ 53.84 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยจากอาหารและน้ำดื่มน้ำใช้ หน่วยงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ กรณีอาหารบริจาคควรหลีกเลี่ยงอาหารที่บูดเสียง่าย เช่น แกงเขียวหวานไก่ ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง เป็นต้น สำหรับผู้สัมผัสอาหาร ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดก่อนลงมือปรุงอาหาร ภาชนะสำหรับเตรียมอาหาร ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำผสมคลอรีน น้ำดื่มควรเลือกขวดที่สะอาด สภาพดีฝาปิดสนิทไม่ชำรุด น้ำภายในขวดไม่มีสิ่งปนเปื้อน การเก็บน้ำบรรจุขวด ควรเก็บอย่างเป็นระเบียบไม่ซ้อนทับกันจนทำให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ไม่ควรนำขวดน้ำดื่มมาใช้ซ้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารได้
ทั้งนี้ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้สนับสนุนน้ำยาล้างจาน คลอรีนน้ำ คลอรีนผง เจลล้างมือ สบู่ล้างมือ แก่พื้นที่ที่ไปตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งแจกแผ่นพับคำแนะนำสำหรับประชาชนอีกด้วย
วันที่ 26 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ออกสำรวจสถานการณ์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่โรงพยาบาลพิมาย และโรงพยาบาลเซ็นต์แมรี่ ในวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้เข้าสำรวจสถานการณ์ทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พื้นที่โรงพยาบาลพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย และบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลพิมายยังมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50-70 ซม. สามารถเปิดให้บริการได้แล้ว แต่ปัญหาคือสุขาไม่สามารถใช้การได้ต้องใช้บริการสุขาเคลื่อนที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากกทม.และบ่อบำบัดน้ำเสียได้รับความเสียหาย ในขณะที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่ระดับน้ำประมาณยังท่วมสูงมากกว่า 1 เมตร ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังได้ออกสำรวจที่จุดบริการรถเคลื่อนที่ปรุงอาหารของกองทัพไทยที่ออกให้บริการแก่ประชาชนที่อำเภอพิมายด้วย ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้ออกสำรวจเพื่อให้ความช่วยเหลือและเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารที่จุดต่างๆ ทั้ง 3 จุดบริการโดยได้เก็บตัวอย่างอาหาร 10 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำจำนวน 4 ตัวอย่างเพื่อนำมาตรวจหาการปนเปื้อน ซึ่งการรายงานผลจะสามารถทำได้ในวันถัดไป ทั้งนี้จากการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 19-22 ตุลาคม 2553 พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 14 ตัวอย่างจากทั้งหมด 44 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 31.8 ส่วนมากเป็นอาหารกล่องโฟมบริจาค โดยพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ส่วนที่จังหวัดชัยภูมิไม่พบการปนเปื้อน น้ำดื่มบรรจุขวดทั้งประเภทขวดใสและขวดขุ่นทั้งหมด 41 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 12 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 29.26 ตัวอย่างน้ำใช้น้ำประปา 6 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 66.7 และจากการตรวจเชื้อ (swab) จากมือผู้ประกอบอาหารจำนวน 13 รายพบการปนเปื้อน 7 รายคิดเป็นร้อยละ 53.84 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยจากอาหารและน้ำดื่มน้ำใช้ หน่วยงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ กรณีอาหารบริจาคควรหลีกเลี่ยงอาหารที่บูดเสียง่าย เช่น แกงเขียวหวานไก่ ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง เป็นต้น สำหรับผู้สัมผัสอาหาร ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดก่อนลงมือปรุงอาหาร ภาชนะสำหรับเตรียมอาหาร ควรล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำผสมคลอรีน น้ำดื่มควรเลือกขวดที่สะอาด สภาพดีฝาปิดสนิทไม่ชำรุด น้ำภายในขวดไม่มีสิ่งปนเปื้อน การเก็บน้ำบรรจุขวด ควรเก็บอย่างเป็นระเบียบไม่ซ้อนทับกันจนทำให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ไม่ควรนำขวดน้ำดื่มมาใช้ซ้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดปัญหาโรคระบบทางเดินอาหารได้ ทั้งนี้ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้สนับสนุนน้ำยาล้างจาน คลอรีนน้ำ คลอรีนผง เจลล้างมือ สบู่ล้างมือ แก่พื้นที่ที่ไปตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งแจกแผ่นพับคำแนะนำสำหรับประชาชนอีกด้วย วันที่ 26 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์