ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา แนะศูนย์พักพิงอาหาร-น้ำหากไม่สะอาด อาจเสี่ยงโรคที่มากับน้ำท่วม
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา แนะศูนย์พักพิงอาหาร-น้ำหากไม่สะอาด อาจเสี่ยงโรคที่มากับน้ำท่วม
จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัดรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์) น้ำท่วมหนัก 2 จังหวัด คือจังหวัดนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมาระดับน้ำยังคงทรงตัว อำเภอปักธงชัยระดับน้ำเริ่มลดลงจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับอำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอโนนสูง น้ำยังคงท่วมอยู่ในระดับที่วิกฤติ สำหรับจังหวัดชัยภูมิ มีน้ำท่วมทั้งหมด 16 อำเภอ อยู่ในระดับรุนแรง 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจตุรัส อำเภอเนินสง่า อำเภอหนองบัวแดงและอำเภอคอนสาร สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งรับน้ำจากจังหวัดนครราชสีมาได้เข้าท่วมถนนหลายสายที่อำเภอลำปลายมาศระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร และที่จังหวัดสุรินทร์ทางกรมชลประทานได้แจ้งเตือนพื้นที่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำมูล ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ให้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาได้จัดทีมนักวิชาการสาธารณสุขในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและน้ำช่วงสถานการณ์น้ำท่วมด้วยชุดตรวจ SI-2 และชุดตรวจโคลิฟอร์มในน้ำดื่มพบว่าการสุ่มตรวจอาหารในจุดให้บริการผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 20 ? 22 ตุลาคม 2553 จำนวน 36 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิ-ฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 30 และการสุ่มตรวจน้ำดื่มอีกจำนวน 25 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36 ซึ่งทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะการปรุงประกอบอาหารในจุดที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเน้นสะอาด ปลอดภัย ตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดตั้งแต่อาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อรา และไม่นำอาหารกระป๋องที่บุบ บวม หมดอายุมาปรุงอาหาร สำหรับศูนย์พักพิงที่ต้องมีจุดปรุงประกอบอาหารนั้น ต้องเลือกพื้นที่หรือสถานที่จัดตั้งครัวที่ไม่ใกล้ห้องส้วม ที่เก็บขยะ ที่ระบายน้ำเสียหรือที่เก็บสารเคมี โดยหลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้น ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ต้องล้างขจัดคราบไขมันด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และห้ามนำผ้าที่สกปรกมาเช็ด เพราะจะเป็นสื่อที่นำเชื้อโรคมาปนเปื้อนอาหารที่มีการหั่น สับ บนเขียงได้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือการกำจัดขยะ ในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊ปควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่ง ถังขยะต้องมีฝาปิด และมีการแยกขยะเป็นสองถังคือถังขยะเปียกและถังขยะแห้ง เพื่อง่ายต่อการกำจัด
ทั้งนี้ หากประชาชนผู้ประสบภัยต้องการปูนขาว ถุงดำ สารส้ม หยดทิพย์(คลอรีนน้ำ) และเจลล้างมือ สามารถขอรับได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 044 ? 305131 ต่อ 102
วันที่ 24 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา แนะศูนย์พักพิงอาหาร-น้ำหากไม่สะอาด อาจเสี่ยงโรคที่มากับน้ำท่วม จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัดรับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา (นครชัยบุรินทร์) น้ำท่วมหนัก 2 จังหวัด คือจังหวัดนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมาระดับน้ำยังคงทรงตัว อำเภอปักธงชัยระดับน้ำเริ่มลดลงจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับอำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอโนนสูง น้ำยังคงท่วมอยู่ในระดับที่วิกฤติ สำหรับจังหวัดชัยภูมิ มีน้ำท่วมทั้งหมด 16 อำเภอ อยู่ในระดับรุนแรง 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจตุรัส อำเภอเนินสง่า อำเภอหนองบัวแดงและอำเภอคอนสาร สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งรับน้ำจากจังหวัดนครราชสีมาได้เข้าท่วมถนนหลายสายที่อำเภอลำปลายมาศระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร และที่จังหวัดสุรินทร์ทางกรมชลประทานได้แจ้งเตือนพื้นที่ริม 2 ฝั่งแม่น้ำมูล ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี ให้เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาได้จัดทีมนักวิชาการสาธารณสุขในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและน้ำช่วงสถานการณ์น้ำท่วมด้วยชุดตรวจ SI-2 และชุดตรวจโคลิฟอร์มในน้ำดื่มพบว่าการสุ่มตรวจอาหารในจุดให้บริการผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 20 22 ตุลาคม 2553 จำนวน 36 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิ-ฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 11 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 30 และการสุ่มตรวจน้ำดื่มอีกจำนวน 25 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียจำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36 ซึ่งทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะการปรุงประกอบอาหารในจุดที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเน้นสะอาด ปลอดภัย ตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนดตั้งแต่อาหารสดต้องไม่มีกลิ่น อาหารแห้งต้องไม่มีเชื้อรา และไม่นำอาหารกระป๋องที่บุบ บวม หมดอายุมาปรุงอาหาร สำหรับศูนย์พักพิงที่ต้องมีจุดปรุงประกอบอาหารนั้น ต้องเลือกพื้นที่หรือสถานที่จัดตั้งครัวที่ไม่ใกล้ห้องส้วม ที่เก็บขยะ ที่ระบายน้ำเสียหรือที่เก็บสารเคมี โดยหลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงอาหารที่สูงจากพื้น ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร เตาหุงต้มอาหาร เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์ต้องล้างขจัดคราบไขมันด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด และห้ามนำผ้าที่สกปรกมาเช็ด เพราะจะเป็นสื่อที่นำเชื้อโรคมาปนเปื้อนอาหารที่มีการหั่น สับ บนเขียงได้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือการกำจัดขยะ ในจุดปรุงอาหารจะต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม เช่น พลาสติก หากใช้ปี๊ปควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่ง ถังขยะต้องมีฝาปิด และมีการแยกขยะเป็นสองถังคือถังขยะเปียกและถังขยะแห้ง เพื่อง่ายต่อการกำจัด ทั้งนี้ หากประชาชนผู้ประสบภัยต้องการปูนขาว ถุงดำ สารส้ม หยดทิพย์(คลอรีนน้ำ) และเจลล้างมือ สามารถขอรับได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 044 305131 ต่อ 102 วันที่ 24 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์