คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รุดตรวจอาหารและน้ำหลังพบปัญหาขยะ สิ่งปฏิกูลล้น แนะนำการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

22.10.2553
12
0
แชร์
22
ตุลาคม
2553

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รุดตรวจอาหารและน้ำหลังพบปัญหาขยะ สิ่งปฏิกูลล้น แนะนำการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รุดตรวจอาหารและน้ำหลังพบปัญหาขยะ สิ่งปฏิกูลล้น
แนะนำการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ
 
 
           จากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ โดยการลงพื้นที่ของศูนย์อนามัยที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ยังคงมีน้ำท่วมสูงแต่อยู่ในระดับทรงตัวในเขตอำเภอด่านขุนทด และอำเภอปักธงชัย ส่วนอำเภอที่ยังคงมีระดับความรุนแรงอยู่ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอจักราช อำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย ในขณะที่ตัวเมืองบางพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว
           การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ซึ่งได้ออกเก็บตัวอย่างในพื้นที่อำเภอปัก-ธงชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลจอหอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พบว่าการสุ่มตรวจอาหารในจุดให้บริการผู้ประสบภัยทั้งหมดจำนวน 66 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจำนวน 16 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 24 และการสุ่มตรวจน้ำดื่มอีกจำนวน 4 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งหากประชาชนบริโภคเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดอาการอุจจารร่วงและอาหารเป็นพิษ ดังนั้น ควรสังเกตอาหารก่อนบริโภค ควรเป็นอาหารที่ทำสุกใหม่ หรืออุ่นก่อนบริโภค ไม่ควรทำเมนูที่ใช้กะทิหรือของมัน เพราะจะทำให้บูดง่าย หากมีกลิ่นหรือสีผิดปกติควรหลีกเลี่ยงทันที สำหรับน้ำดื่มควรต้มให้เดือดก่อน หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะอุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม หม้อ กระทะให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนชา (ผสมกับน้ำ 1 แก้ว รินเฉพาะส่วนที่ใส) ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 2 นาที ก่อนที่จะนำภาชนะเหล่านั้นมาใช้อย่างปลอดภัยเพื่อความสะดวกกรมอนามัยได้ผลิตคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ใช้หยดลงในน้ำ สำหรับดื่ม 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที นอกจากนี้ยังพบขยะมูลฝอยอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ กล่องโฟม ถุงพลาสติก กระป๋อง ขวดน้ำ จึงขอความร่วมมือผู้บริจาคใช้ถุงร้อนหรือกระดาษสำหรับบรรจุอาหารแทนการใช้โฟมแล้วรวบรวมใส่ถุงดำเนื่องจากการลำเลียงขยะยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก
           โดยวันนี้ (22 ตุลาคม 2553) ศูนย์ฯ ยังได้มอบสิ่งสนับสนุนด้านเวชภัณฑ์ยา สิ่งของบรรเทาทุกข์ ถุงดำ ปูนขาว เจลล้างมือ สารส้ม และหยดทิพย์(คลอรีนน้ำ) พร้อมทั้งให้ความรู้ในการใช้อุปกรณ์และสารเคมีที่จำเป็นในการขับถ่าย เช่น ควรถ่ายลงถุงดำที่โรยด้วยปูนขาวก่อน พร้อมมอบคู่มือประชาชนเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมสำหรับกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนจอหอนิมิตใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา หากประชาชนผู้ประสบภัยต้องการปูนขาว ถุงดำ สารส้ม สามารถขอรับได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 044 ? 305131 ต่อ 102 ในเวลาราชการ ทั้งนี้ การดูแลตนเองได้ง่ายๆ เพียงล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง หากไม่มีสบู่ล้างมือสามารถใช้เจลล้างมือแทนได้
 
 
วันที่ 22 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รุดตรวจอาหารและน้ำหลังพบปัญหาขยะ สิ่งปฏิกูลล้น แนะนำการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำ จากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ โดยการลงพื้นที่ของศูนย์อนามัยที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ยังคงมีน้ำท่วมสูงแต่อยู่ในระดับทรงตัวในเขตอำเภอด่านขุนทด และอำเภอปักธงชัย ส่วนอำเภอที่ยังคงมีระดับความรุนแรงอยู่ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอจักราช อำเภอโนนสูง และอำเภอพิมาย ในขณะที่ตัวเมืองบางพื้นที่น้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ซึ่งได้ออกเก็บตัวอย่างในพื้นที่อำเภอปัก-ธงชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบลจอหอ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พบว่าการสุ่มตรวจอาหารในจุดให้บริการผู้ประสบภัยทั้งหมดจำนวน 66 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจำนวน 16 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 24 และการสุ่มตรวจน้ำดื่มอีกจำนวน 4 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มจำนวน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งหากประชาชนบริโภคเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดอาการอุจจารร่วงและอาหารเป็นพิษ ดังนั้น ควรสังเกตอาหารก่อนบริโภค ควรเป็นอาหารที่ทำสุกใหม่ หรืออุ่นก่อนบริโภค ไม่ควรทำเมนูที่ใช้กะทิหรือของมัน เพราะจะทำให้บูดง่าย หากมีกลิ่นหรือสีผิดปกติควรหลีกเลี่ยงทันที สำหรับน้ำดื่มควรต้มให้เดือดก่อน หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรคในภาชนะอุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม หม้อ กระทะให้ใช้คลอรีน 1 ช้อนชา (ผสมกับน้ำ 1 แก้ว รินเฉพาะส่วนที่ใส) ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 2 นาที ก่อนที่จะนำภาชนะเหล่านั้นมาใช้อย่างปลอดภัยเพื่อความสะดวกกรมอนามัยได้ผลิตคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) ใช้หยดลงในน้ำ สำหรับดื่ม 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที นอกจากนี้ยังพบขยะมูลฝอยอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ กล่องโฟม ถุงพลาสติก กระป๋อง ขวดน้ำ จึงขอความร่วมมือผู้บริจาคใช้ถุงร้อนหรือกระดาษสำหรับบรรจุอาหารแทนการใช้โฟมแล้วรวบรวมใส่ถุงดำเนื่องจากการลำเลียงขยะยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยวันนี้ (22 ตุลาคม 2553) ศูนย์ฯ ยังได้มอบสิ่งสนับสนุนด้านเวชภัณฑ์ยา สิ่งของบรรเทาทุกข์ ถุงดำ ปูนขาว เจลล้างมือ สารส้ม และหยดทิพย์(คลอรีนน้ำ) พร้อมทั้งให้ความรู้ในการใช้อุปกรณ์และสารเคมีที่จำเป็นในการขับถ่าย เช่น ควรถ่ายลงถุงดำที่โรยด้วยปูนขาวก่อน พร้อมมอบคู่มือประชาชนเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมสำหรับกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนจอหอนิมิตใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา หากประชาชนผู้ประสบภัยต้องการปูนขาว ถุงดำ สารส้ม สามารถขอรับได้ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 044 305131 ต่อ 102 ในเวลาราชการ ทั้งนี้ การดูแลตนเองได้ง่ายๆ เพียงล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง หากไม่มีสบู่ล้างมือสามารถใช้เจลล้างมือแทนได้ วันที่ 22 ตุลาคม 2553 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

แทงบอลออนไลน์ || ดูบอลสด