ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รวมพลังสุดยอดเครือข่ายทันตสุขภาพ นครชัยบุรินทร์
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รวมพลังสุดยอดเครือข่ายทันตสุขภาพ นครชัยบุรินทร์
ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดงาน Best of the Best Dental Public Health Network & Duo School ในโครงการประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพ โครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี และโครงการประกวดเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก ภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของศูนย์อนามัยที่ 5 เพื่อคัดเลือกเครือข่ายบริการปฐมภูมิดีเด่นระดับเขต คัดเลือกคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่นระดับเขตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีดำเนินงานระหว่างเครือข่ายบริการปฐมภูมิคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัด มีโรงเรียนดีเด่นจากจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์เข้าร่วมกว่า 24 โรงเรียน และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลและอำเภอ) 3 แห่ง รวมผู้เข้าร่วมงาน 350 คน ทั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุน จาก สปสช. เขต 9 และสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2553 ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจทันตสุขภาพเขต 14 ครั้งที่ 5 (พ.ศ.2551) พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 60 เฉลี่ย 4 ซี่ต่อคน ในขณะที่เด็กอายุ 5 ปี อัตราการเกิดโรคฟันผุสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นร้อยละ 82.6 เฉลี่ย 6 ซี่ต่อคน เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่วัยประถมศึกษา พบว่าเด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 46.5 เฉลี่ย 1.76 ซี่ต่อคน เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างกระแสให้เกิดการป้องกันโรคฟันผุในช่วงวัยดังกล่าว ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้ร่วมกับสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จัดการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านทันตสุขภาพ ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2550 ทำให้ได้โรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้จำนวนมาก เกิดเครือข่ายด้านทันตสุขภาพและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ไปยังโรงเรียนอื่น เป็นลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิด พัฒนากระบวนการทำงาน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ให้โรงเรียนจับคู่กันเพื่อร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมพัฒนาเกิดเป็นกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เป็นรูปแบบ พัฒนาระบบการด้านทันตสุขภาพ และเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ทำงานร่วมกับชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำงานด้านการส่งเสริมช่องปาก
อธิบดีกรมอนามัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรคฟันผุในเด็กเล็กที่มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาหนึ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญ ผู้ที่จะป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากอยู่ใกล้ชิด สามารถควบคุมอาหารการกินของเด็ก และทำความสะอาดฟันให้เด็กซึ่งยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้ การสอนพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดฟันให้เด็ก ตลอดจนการแนะนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวทุกแห่ง เป็นสิ่งที่ต้องการเน้นผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพมาก ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองได้รู้และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กจะสามารถลดลงได้
งานสื่อสารองค์กร ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รวมพลังสุดยอดเครือข่ายทันตสุขภาพ นครชัยบุรินทร์ ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดงาน Best of the Best Dental Public Health Network & Duo School ในโครงการประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพ โครงการพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี และโครงการประกวดเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP) ดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแม่และเด็ก ภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ของศูนย์อนามัยที่ 5 เพื่อคัดเลือกเครือข่ายบริการปฐมภูมิดีเด่นระดับเขต คัดเลือกคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่นระดับเขตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีดำเนินงานระหว่างเครือข่ายบริการปฐมภูมิคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพดีเด่นระดับจังหวัด มีโรงเรียนดีเด่นจากจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์เข้าร่วมกว่า 24 โรงเรียน และเครือข่ายบริการปฐมภูมิ(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลและอำเภอ) 3 แห่ง รวมผู้เข้าร่วมงาน 350 คน ทั้งนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุน จาก สปสช. เขต 9 และสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2553 ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจทันตสุขภาพเขต 14 ครั้งที่ 5 (พ.ศ.2551) พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 60 เฉลี่ย 4 ซี่ต่อคน ในขณะที่เด็กอายุ 5 ปี อัตราการเกิดโรคฟันผุสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นร้อยละ 82.6 เฉลี่ย 6 ซี่ต่อคน เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่วัยประถมศึกษา พบว่าเด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 46.5 เฉลี่ย 1.76 ซี่ต่อคน เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างกระแสให้เกิดการป้องกันโรคฟันผุในช่วงวัยดังกล่าว ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้ร่วมกับสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จัดการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านทันตสุขภาพ ตั้งแต่ พ.ศ.2548-2550 ทำให้ได้โรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้จำนวนมาก เกิดเครือข่ายด้านทันตสุขภาพและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา และต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการประกวดคู่หูโรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพ ไปยังโรงเรียนอื่น เป็นลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิด พัฒนากระบวนการทำงาน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ให้โรงเรียนจับคู่กันเพื่อร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมพัฒนาเกิดเป็นกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่เป็นรูปแบบ พัฒนาระบบการด้านทันตสุขภาพ และเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ทำงานร่วมกับชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำงานด้านการส่งเสริมช่องปาก อธิบดีกรมอนามัย ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โรคฟันผุในเด็กเล็กที่มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาหนึ่งที่กรมอนามัยให้ความสำคัญ ผู้ที่จะป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากอยู่ใกล้ชิด สามารถควบคุมอาหารการกินของเด็ก และทำความสะอาดฟันให้เด็กซึ่งยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้ การสอนพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดฟันให้เด็ก ตลอดจนการแนะนำอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวทุกแห่ง เป็นสิ่งที่ต้องการเน้นผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพมาก ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองได้รู้และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กจะสามารถลดลงได้ งานสื่อสารองค์กร ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา