ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน
วันที่ 28 มิถุนายน 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน ที่ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โดย น.พ. กิตติชาติ อินทุสรนาย แพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยาและสมอง บรรยายเรื่อง ความเสื่อมในผู้สูงอายุ? , โรคหลอดเลือดในสมองกับผู้สูงอายุ? และ นางพิมลรัตน์ กมลธรรม นักกายภาพบำบัด บรรยายเรื่อง การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง? และ ฝึกปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง การจัดการอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่บกพร่องทางการเคลื่อนไหว ป้องกันความพิการในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ ดูแล และ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว เบื้องต้นได้ และเป็นการประสานงานร่วมกันระหว่าง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 125 คน ภายในตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อสม.ในพื้นที่ ญาติผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ตัวแทนหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
สถานการณ์ผู้สูงอายุและข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในตำบลโครกกรวด ของคลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,249 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว มีบุตรหลานรักใคร่เอาใจใส่ดูแลร้อยละ 85.9 และจากการสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนถึงร้อยละ 62.8 เพื่อเป็นการตอบสนองแก่ผู้สูงอายุในชุมชน และเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน ? ขึ้นเพื่อป้องกันความพิการและฟื้นฟูส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และ เพิ่มศักยภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหวแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน วันที่ 28 มิถุนายน 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน ที่ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โดย น.พ. กิตติชาติ อินทุสรนาย แพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยาและสมอง บรรยายเรื่อง \\ความเสื่อมในผู้สูงอายุ , \\โรคหลอดเลือดในสมองกับผู้สูงอายุ และ นางพิมลรัตน์ กมลธรรม นักกายภาพบำบัด บรรยายเรื่อง \\การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง และ ฝึกปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่เกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง การจัดการอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่บกพร่องทางการเคลื่อนไหว ป้องกันความพิการในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ ดูแล และ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว เบื้องต้นได้ และเป็นการประสานงานร่วมกันระหว่าง ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 125 คน ภายในตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อสม.ในพื้นที่ ญาติผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ตัวแทนหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เจ้าหน้าที่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สถานการณ์ผู้สูงอายุและข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุในตำบลโครกกรวด ของคลินิกส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,249 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดและมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุกปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว มีบุตรหลานรักใคร่เอาใจใส่ดูแลร้อยละ 85.9 และจากการสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการการช่วยเหลือด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนถึงร้อยละ 62.8 เพื่อเป็นการตอบสนองแก่ผู้สูงอายุในชุมชน และเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น จึงจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง \\การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีกในชุมชน ขึ้นเพื่อป้องกันความพิการและฟื้นฟูส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และ เพิ่มศักยภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหวแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน