ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย ตั้งเป้า รถขยะห้ามเข้า ทำ GREEN and CLEAN ลดภาวะโลกร้อน
ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย ตั้งเป้า รถขยะห้ามเข้า ทำ GREEN and CLEAN ลดภาวะโลกร้อน
ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังการประชุมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า กรมอนามัย จัดทำโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน (GREEN & CLEAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวโรกาส 84 พรรษา อีกทั้งให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นแบบอย่างการดำเนินการลดโลกร้อน สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรในเรื่องโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน อันเป็นการขยายผลจากการเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงพยาบาล และศูนย์อนามัยด้วย โดยใช้หลัก GREEN ได้แก่
G Garbage การจัดการมูลฝอยและการใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูล
R Rest room การจัดการส้วมให้ได้มาตรฐาน HAS
E Energy ประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพ
E Environment การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อนและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ
N Nutrition การรณรงค์อาหารปลอดสารพิษ รณรงค์ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง การใช้อุจจาระ ปัสสาวะและสารอินทรีย์อื่นๆ เป็นปุ๋ย (Nutrient Cycle)
ใช้กลยุทธ CLEAN ได้แก่ Communication การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจ Leadership สร้างบทบาทนำ เพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินงาน Effectiveness ให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ Activity สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วม และ Networking ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
สำหรับ เป้าหมายในการ ลดโลกร้อน โครงการ CLEAN & GREEN ในปี 2553 โดยดำเนินการใน โรงพยาบาล 84 แห่ง (โรงพยาบาล 72 แห่ง ศูนย์อนามัย 12 ศูนย์) สถานีอนามัย 84 แห่ง ซึ่งแนวทางในการดำเนินงานตามโครงการ คือ 1) สร้างศูนย์เรียนรู้ โดยศูนย์อนามัยทุกแห่ง จะเป็นศูนย์เรียนรู้ด้วยการพัฒนาบุคลการภายในศูนย์ฯ สร้างเป็นศูนย์สาธิต ฝึกอบรมและดูงานแก่บุคคลภายนอกและประชาชนผู้สนใจทั่วไป 2) พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย และ 3) ติดตามให้คำปรึกษา ประมวลความรู้ด้วยการมอบใบประกาศ โรงพยาบาลร่วมลดโลกร้อน?
นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 กล่าวเพิ่มเติม ว่า ในส่วนของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้มีนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงได้ดำเนินการภายในศูนย์มาร่วม 5 ปี แล้ว เริ่มด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง การแยกขยะ การทำน้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM และการปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด แปลงขยะเป็นเงิน เป็นกองทุนขยะ จนกระทั่งการก่อตั้งธนาคารขยะ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อช่วยกำจัดขยะเศษอาหาร ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกัน อันเป็นการสร้างจิตสำนึกและก่อให้เกิดจิตสาธารณะในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิต ทั้งนักวิชาการและแม้แต่ลูกจ้างทุกระดับ ซึ่งหากศูนย์สามารถจัดการขยะด้วยตนเอง ก็ไม่จำเป็นต้องให้รถขยะจากเทศบาลหรือ อบต. มาขน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ ศูนย์อนามัยที่ 5 รถขยะห้ามเข้า? นอกจากยังจัดการรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย GREEN & CLEAN จัดนิทรรศการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการลดภาวะโลกร้อน ตามทางเดินทั่วโรงพยาบาล ของศูนย์อนามัยที่ 5 หน่วยงานผู้สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 0 4430 5131 ต่อ 102 หรือ http://hpc5.anamai.moph.go.th/
ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย ตั้งเป้า รถขยะห้ามเข้า ทำ GREEN and CLEAN ลดภาวะโลกร้อน ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยหลังการประชุมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า กรมอนามัย จัดทำโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน (GREEN & CLEAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในวโรกาส 84 พรรษา อีกทั้งให้สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นแบบอย่างการดำเนินการลดโลกร้อน สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรในเรื่องโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในการร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน อันเป็นการขยายผลจากการเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงพยาบาล และศูนย์อนามัยด้วย โดยใช้หลัก GREEN ได้แก่ G Garbage การจัดการมูลฝอยและการใช้ประโยชน์จากสิ่งปฏิกูล R Rest room การจัดการส้วมให้ได้มาตรฐาน HAS E Energy ประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพ E Environment การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อนและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ N Nutrition การรณรงค์อาหารปลอดสารพิษ รณรงค์ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง การใช้อุจจาระ ปัสสาวะและสารอินทรีย์อื่นๆ เป็นปุ๋ย (Nutrient Cycle) ใช้กลยุทธ CLEAN ได้แก่ Communication การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจ Leadership สร้างบทบาทนำ เพื่อเป็นตัวอย่างในการดำเนินงาน Effectiveness ให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ Activity สร้างกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกอย่างมีส่วนร่วม และ Networking ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน สำหรับ เป้าหมายในการ ลดโลกร้อน โครงการ CLEAN & GREEN ในปี 2553 โดยดำเนินการใน โรงพยาบาล 84 แห่ง (โรงพยาบาล 72 แห่ง ศูนย์อนามัย 12 ศูนย์) สถานีอนามัย 84 แห่ง ซึ่งแนวทางในการดำเนินงานตามโครงการ คือ 1) สร้างศูนย์เรียนรู้ โดยศูนย์อนามัยทุกแห่ง จะเป็นศูนย์เรียนรู้ด้วยการพัฒนาบุคลการภายในศูนย์ฯ สร้างเป็นศูนย์สาธิต ฝึกอบรมและดูงานแก่บุคคลภายนอกและประชาชนผู้สนใจทั่วไป 2) พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย และ 3) ติดตามให้คำปรึกษา ประมวลความรู้ด้วยการมอบใบประกาศ \\โรงพยาบาลร่วมลดโลกร้อน นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 กล่าวเพิ่มเติม ว่า ในส่วนของศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ได้มีนโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงได้ดำเนินการภายในศูนย์มาร่วม 5 ปี แล้ว เริ่มด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง การแยกขยะ การทำน้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM และการปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด แปลงขยะเป็นเงิน เป็นกองทุนขยะ จนกระทั่งการก่อตั้งธนาคารขยะ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อช่วยกำจัดขยะเศษอาหาร ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกัน อันเป็นการสร้างจิตสำนึกและก่อให้เกิดจิตสาธารณะในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิต ทั้งนักวิชาการและแม้แต่ลูกจ้างทุกระดับ ซึ่งหากศูนย์สามารถจัดการขยะด้วยตนเอง ก็ไม่จำเป็นต้องให้รถขยะจากเทศบาลหรือ อบต. มาขน ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ \\ศูนย์อนามัยที่ 5 รถขยะห้ามเข้า นอกจากยังจัดการรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย GREEN & CLEAN จัดนิทรรศการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการลดภาวะโลกร้อน ตามทางเดินทั่วโรงพยาบาล ของศูนย์อนามัยที่ 5 หน่วยงานผู้สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา โทร. 0 4430 5131 ต่อ 102 หรือ http://hpc5.anamai.moph.go.th/