คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รับอธิบดีกรมอนามัย ในการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

02.03.2553
9
0
แชร์
02
มีนาคม
2553

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รับอธิบดีกรมอนามัย ในการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รับอธิบดีกรมอนามัย ในการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
          เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมให้การต้อนรับ ตามที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งเสริมผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ดึงชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 19 จังหวัดร่วมดำเนินการ หวังแก้ปัญหาการสูญเสียฟันในผู้สูงวัย ที่ โรงแรมวีวัน จังหวัดนครราชสีมา
          ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมว่า จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุประมาณ 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.8 ในปัจจุบัน คาดว่าในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีประชากรผู้สูงอายุประมาณ 11 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด การเตรียมความพร้อมของการจัดบริการในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ กรมอนามัยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของประเทศไทยครั้งที่ 6 ปี 2550 พบว่าประชากรผู้สูงอายุไม่มีฟัน ในช่องปาก และมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารสูง ต้องการฟันเทียมทั้งปากประมาณ 250,000 คน
          ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยจึงได้จัดทำโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทันตแพทย์ทั่วประเทศจัดการบริการใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้ได้รับบริการไปแล้วกว่า 160,000 คน โดยผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับฟันเทียมพระราชทานถึง 50,000 คน หรือเฉลี่ยปีละ 10,000 คน และผลการสำรวจในปี 2550 ยังพบว่ามีผู้สูงอายุเป็นโรคปริทันต์สูงถึงร้อยละ 84 และมีรากฟันผุร้อยละ 21 ทำให้แนวโน้มการสูญเสียฟันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการให้บริการใส่ฟันเทียมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง โดยกรมอนามัยส่งเสริมให้แกนนำชมรมผู้สูงอายุเป็นผู้จัดกิจกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีบุคลากรภาครัฐทั้งบุคลากรสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุน
          ขณะนี้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชมรมผู้สูงอายุต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากในพื้นที่เขต 5 เขต 6 และเขต 7 รวม 6 จังหวัดจาก 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบบริการป้องกันในพื้นที่ต้นแบบ 8 จังหวัด และการค้นหา 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี ที่เป็นแบบอย่างของผู้สูงอายุที่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยกว่า 80 ปี ในพื้นที่ 13 จังหวัด สำหรับในปี 2553 นี้ กรมอนามัยมีเป้าหมายให้ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่เป็นต้นแบบของจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ชมรม และขยายเป็นอำเภอละ 1 ชมรมในปี 2554? อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รับอธิบดีกรมอนามัย ในการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดการประชุมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมให้การต้อนรับ ตามที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งเสริมผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ดึงชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 19 จังหวัดร่วมดำเนินการ หวังแก้ปัญหาการสูญเสียฟันในผู้สูงวัย ที่ โรงแรมวีวัน จังหวัดนครราชสีมา ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมว่า จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุประมาณ 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.8 ในปัจจุบัน คาดว่าในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีประชากรผู้สูงอายุประมาณ 11 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด การเตรียมความพร้อมของการจัดบริการในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ กรมอนามัยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของประเทศไทยครั้งที่ 6 ปี 2550 พบว่าประชากรผู้สูงอายุไม่มีฟัน ในช่องปาก และมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหารสูง ต้องการฟันเทียมทั้งปากประมาณ 250,000 คน ดร.นพ.สมยศ กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยจึงได้จัดทำโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทันตแพทย์ทั่วประเทศจัดการบริการใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้ได้รับบริการไปแล้วกว่า 160,000 คน โดยผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับฟันเทียมพระราชทานถึง 50,000 คน หรือเฉลี่ยปีละ 10,000 คน และผลการสำรวจในปี 2550 ยังพบว่ามีผู้สูงอายุเป็นโรคปริทันต์สูงถึงร้อยละ 84 และมีรากฟันผุร้อยละ 21 ทำให้แนวโน้มการสูญเสียฟันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการให้บริการใส่ฟันเทียมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง โดยกรมอนามัยส่งเสริมให้แกนนำชมรมผู้สูงอายุเป็นผู้จัดกิจกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีบุคลากรภาครัฐทั้งบุคลากรสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้สนับสนุน \\ขณะนี้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชมรมผู้สูงอายุต้นแบบด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากในพื้นที่เขต 5 เขต 6 และเขต 7 รวม 6 จังหวัดจาก 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบบริการป้องกันในพื้นที่ต้นแบบ 8 จังหวัด และการค้นหา 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี ที่เป็นแบบอย่างของผู้สูงอายุที่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยกว่า 80 ปี ในพื้นที่ 13 จังหวัด สำหรับในปี 2553 นี้ กรมอนามัยมีเป้าหมายให้ชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่เป็นต้นแบบของจังหวัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ชมรม และขยายเป็นอำเภอละ 1 ชมรมในปี 2554 อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix

betflix129