คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รณรงค์บริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.02.2553
11
0
แชร์
24
กุมภาพันธ์
2553

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รณรงค์บริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน

ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รณรงค์บริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน
 
          ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดกิจกรรม สัปดาห์รณรงค์พืช ผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษและอาหารสุขภาพจากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและรู้จักเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ ภายในงานได้รับความร่วมจาก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรและศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดนครราชสีมา มาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร พร้อมสรรพคุณในการรักษาโรค อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพรมาจำหน่าย
          นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนายการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยหลังจากการเปิดกิจกรรม สัปดาห์รณรงค์พืช ผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษและอาหารสุขภาพจากสมุนไพรพื้นบ้านว่า การบริโภคผักปลอดสารพิษ นอกจากจะช่วยให้ชีวิตปลอดภัยแล้ว ยังน้อมนำสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง ทั้งในแง่ผู้ค้า หากรู้จักพอเพียง ไม่โลภ ก็จะไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ด้วยการนำผักไปชุบสารเคมี เพื่อให้ผักสด หรือใส่สารฟอกขาวในถั่วงอกหรือขิงหั่นฝอย ผู้บริโภคนั้น...ผักชนิดไหนอยู่นอกฤดูกาล ถึงแม้อยากรับประทาน ก็ต้องหลีกเลี่ยงรู้จักยับยั้งและพอเพียง หลักการสำคัญคือต้องซื้อผักจากแหล่งที่ไว้ใจได้, กินผักตามฤดูกาล, ล้างผักให้ถูกวิธี และส่วนหนึ่งควรปลูกผักกินเองที่บ้าน เพียงเท่านี้ก็จะบริโภคผักได้อย่างปลอดภัย
           การสังเกตว่าผักมีสารพิษหรือไม่ ให้ดมกลิ่น และ ชิมรส ถ้านำไปผัดแล้วรู้สึกว่าขมผิดปกติแสดงว่า มีสารพิษอยู่ รวมทั้งให้ดูลักษณะของใบ ให้มีหนอนเจาะบ้าง และหากเป็นไปได้ อาจปลูกผักบางชนิดไว้กินเองที่บ้าน เช่น ต้นหอม พริกขี้หนู แต่ถ้ามีพื้นที่มากหน่อย อาจปลูกต้นแค เพราะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงมาก ทำแกงส้มหรือลวกจิ้มก็ได้ หรือไม่ก็ปลูก พวกตำลึง ขิง ข่า ตะไคร้
          สำหรับเคล็ดลับการล้างผักเพื่อความปลอดภัย ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่น้ำสะอาด 5-10 นาที แล้วจึงล้างน้ำสะอาดอีกครั้งหรือแช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหรือ แช่น้ำด่างทับทิม (20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร) นาน 10 นาที แล้วล้างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยน้ำสะอาดหรือ ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาทีหรือแช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหรือแช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 4 ลิตร) แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง, แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที แล้วล้างน้ำอีกครั้งหนึ่ง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการล้างผักด้วยน้ำธรรมดา แต่ต้องเป็นน้ำสะอาดโดยล้างเปลี่ยนน้ำทิ้ง 3 ครั้ง สะดวกง่ายและได้ผลเช่นกัน
          การบริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน จึงเป็นอีกกลวิธีหนึ่ง ร่วมด้วยช่วยกันในการลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน ผู้อำนวยการกล่าวในที่สุด
 
งานสื่อสารองค์กร ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา
16 กุมภาพันธ์ 2553
 
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา รณรงค์บริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2553 ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา จัดกิจกรรม สัปดาห์รณรงค์พืช ผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษและอาหารสุขภาพจากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและรู้จักเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ ภายในงานได้รับความร่วมจาก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรและศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดนครราชสีมา มาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร พร้อมสรรพคุณในการรักษาโรค อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสมุนไพรมาจำหน่าย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนายการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยหลังจากการเปิดกิจกรรม สัปดาห์รณรงค์พืช ผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษและอาหารสุขภาพจากสมุนไพรพื้นบ้านว่า การบริโภคผักปลอดสารพิษ นอกจากจะช่วยให้ชีวิตปลอดภัยแล้ว ยังน้อมนำสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง ทั้งในแง่ผู้ค้า หากรู้จักพอเพียง ไม่โลภ ก็จะไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ด้วยการนำผักไปชุบสารเคมี เพื่อให้ผักสด หรือใส่สารฟอกขาวในถั่วงอกหรือขิงหั่นฝอย ผู้บริโภคนั้น...ผักชนิดไหนอยู่นอกฤดูกาล ถึงแม้อยากรับประทาน ก็ต้องหลีกเลี่ยงรู้จักยับยั้งและพอเพียง หลักการสำคัญคือต้องซื้อผักจากแหล่งที่ไว้ใจได้, กินผักตามฤดูกาล, ล้างผักให้ถูกวิธี และส่วนหนึ่งควรปลูกผักกินเองที่บ้าน เพียงเท่านี้ก็จะบริโภคผักได้อย่างปลอดภัย การสังเกตว่าผักมีสารพิษหรือไม่ ให้ดมกลิ่น และ ชิมรส ถ้านำไปผัดแล้วรู้สึกว่าขมผิดปกติแสดงว่า มีสารพิษอยู่ รวมทั้งให้ดูลักษณะของใบ ให้มีหนอนเจาะบ้าง และหากเป็นไปได้ อาจปลูกผักบางชนิดไว้กินเองที่บ้าน เช่น ต้นหอม พริกขี้หนู แต่ถ้ามีพื้นที่มากหน่อย อาจปลูกต้นแค เพราะมีสารเบต้าแคโรทีนสูงมาก ทำแกงส้มหรือลวกจิ้มก็ได้ หรือไม่ก็ปลูก พวกตำลึง ขิง ข่า ตะไคร้ สำหรับเคล็ดลับการล้างผักเพื่อความปลอดภัย ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่น้ำสะอาด 5-10 นาที แล้วจึงล้างน้ำสะอาดอีกครั้งหรือแช่น้ำปูนใส นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหรือ แช่น้ำด่างทับทิม (20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร) นาน 10 นาที แล้วล้างอีกครั้งหนึ่ง ด้วยน้ำสะอาดหรือ ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก นาน 2 นาทีหรือแช่น้ำซาวข้าว นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหรือแช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 4 ลิตร) แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง, แช่น้ำยาล้างผัก นาน 10 นาที แล้วล้างน้ำอีกครั้งหนึ่ง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการล้างผักด้วยน้ำธรรมดา แต่ต้องเป็นน้ำสะอาดโดยล้างเปลี่ยนน้ำทิ้ง 3 ครั้ง สะดวกง่ายและได้ผลเช่นกัน การบริโภคผักปลอดสารพิษและอาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน จึงเป็นอีกกลวิธีหนึ่ง ร่วมด้วยช่วยกันในการลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน ผู้อำนวยการกล่าวในที่สุด งานสื่อสารองค์กร ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา 16 กุมภาพันธ์ 2553

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน

ติดตามข่าวสารได้ที่

betflix

betflix129